1.ชื่อโครงงาน

โครงงานเรื่องการทำแผ่นยางพารา

2. ประเภทโครงงาน

ประเภทโครงงานสื่อการเรียนการสอน

3.ชื่อผู้จัดทำ

3.1 นางสาว โชษิตา โจมฟอย

3.2 นางสาว สุภาพร จันดาเขียว

3.3 นางสาว พัชริดา หอมสมบัติ

3.4 นางสาว บุสบา สุขรี่

3.5 นางสาว ธัญญารัตน์ ราชบัวศรี

4. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ วิเชียร แวดล้อม

5.ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

การทำยางแผ่น

หลังจากที่เก็บน้ำยางจากสวนนำ เข้ามารวบรวมยังถังรวมน้ำยาง ในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่จะทำยางแผ่นแล้ว จะต้องรีบทำยางแผ่นทันที เพราะสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่นความร้อนจากอากาศจะช่วยทำให้ยางเกิดบูดหรือรัดตัวขึ้นทุกขณะ สำหรับอุปกรณ์ก็เช่นเดียวกันจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมและล้างทำ ความสะอาดก่อนทุกครั้ง แม้อุปกรณ์เหล่านั้นจะสะอาดอยู่แล้วก็ตาม อุปกรณ์ ดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่

  • จักรรีดยาง ทั้งรีดเรียบและรีดดอก
  • ถังรวมน้ำยาง
  • กรดฟอร์มิคหรือกรดซัลฟูริค
  • โอ่งใส่น้ำ
  • ตะกง
  • เครื่องกรองน้ำยางเบอร์ 40 และ 60
  • ใบพายกวานน้ำยาง
  • ที่ตวงน้ำยางขนาด 3 ลิตร
  • โต๊ะสำหรับนวดแผ่นยาง
  • อ่างเคลือบสำหรับผสมน้ำกรด

ขั้นตอนและวิธีทำยางแผ่น

1. ผสมน้ำยางกับน้ำโดยอัตราส่วน 1:1 ถ้าเป็นน้ำยางที่ได้จากต้นยางอ่อนยังมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำอยู่อาจจะ ผสมส่วนของน้ำน้อยลงเหลือน้ำยาง 3 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน โดยปริมาณก็ได้
2. นำส่วนผสมของน้ำยางนี้เทผ่านตะแกรงกรอง 2 ชั้น เบอร์ 40 และ 60
3. ตวงส่วนผสมของน้ำยางที่ผ่านการกรองแล้วนี้ใส่ในตะกงอลูมิเนียม ตะกงละ 5 ลิตร หรือกว่านิดหน่อย
4. ผสมน้ำกรดฟอร์มิค โดยใช้น้ำกรด 2 ช้อนสังกะสีต่อน้ำ 3 กระป๋องนม ใส่น้ำกรดที่ผสมแล้วนี้ 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง (น้ำกรดที่ผสมแล้วไม่ควรเก็บไว้เกิน 2 วัน)
5. ก่อนเทน้ำกรดที่ผสมแล้วใส่น้ำยางควรใช้ที่สำหรับกวนน้ำยาง พายกวนน้ำยางในตะกงที่จะใส่กรดสัก 1-2 เที่ยวก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดลงไปตามความยาวของตะกง แล้วใช้ไม้พายกวนอีก 5-6 เที่ยว
6. ในระหว่างการกวนจะมีฟองอากาศเกิดขึ้นมากมาย ให้ช้อนฟองอากาศออกให้หมด ซึ่งฟองอากาศนี้สามารถทำน้ำขี้ยางชั้นดีได้
7. หลังจากตักฟองอากาสออกหมดแล้ว ควรปิดฝาตะกงเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกลงไป นำไปตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที ยางในตะกงก็จะแข็งตัว
8. เมื่อยางแข็งตัวดีแล้ว ก่อนนำไปแท่นนวดควรรินน้ำหล่อไว้ทุกตะกงเพื่อสะดวกในการเลาะยางออกจากข้างตะ กง
9. คว่ำตะกงลงบนแท่นนวด ยางจะหลุดออกจากตะกง จากนั้นทำการนวดด้วยมือหรือไม้นวดก็ได้ตามถนัด นวดให้ยางเป็นแผ่นบางลงมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
10. นำยางที่นวดจนบางแล้วนี้ เข้าเครื่องรีดเรียบ 3 ครั้ง ให้แผ่นยางหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร แล้วจึงนำเข้าเครื่องรีดดอก 1 ครั้ง จะได้ยางแผ่นดิบที่มีขนาดพอเหมาะ ความหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
11. นำยางที่ผ่านเครื่องรีดดอกแล้วไปล้างน้ำให้สะอาด โดยจุ่มลงในโอ่งหรือถังน้ำเพื่อล้างกรดออก ยางแผ่นที่ทำด้วยกรดฟอร์มิคควรแช่น้ำประมาณ 30 นาที แล้วจึงนำไปผึ่งลมในที่ร่ม ไม่มีฝุ่น อากาศถ่ายเทได้สะดวก เมื่อยางแห้งก็สามารถเก็บไว้ขายได้ หรือถ้าหากมีโรงรมควัน เมื่อน้ำหยุดไหลหลังจากผึ่งไว้สักครู่ก็สามารถนำเข้าโรงรมได้เลย ซึ่งจะใช้เวลาในการรมควันประมาณ 4 วัน ที่อุณหภูมิระหว่าง 110-145 องศาฟาเรนไฮต์ จะได้ยางที่สุกสม่ำเสมอ

ลักษณะ ของยางแผ่นชั้นดี

1. เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่คอดกิ่ว ยาวประมาณ 70-80 เซนติเมตร หนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร หนัก 0.8-1 กิโลกรัม
2. สะอาดปราศจากฟองอากาศ
3. มีสีใสสม่ำเสมอทั้งแผ่นไม่มีขาว
4. มีความยืดหยุ่นดี ไม่ฉีกขาดง่าย และมีรอยดอกยางเห็นเด่นชัด

6. วัตถุประสงค์ของโครงงาน

6.1 ศึกษาเพื่อใช้ชีวิตประจำวัน

7. ขอบเขตของโครงงาน

7.1 ระบบสารสนเทศการขายสินค้า เพื่อพัฒนาสินค้าและการขายสินค้าแก่ผู้บริโภท

8. ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

8.1 การหาอุปกรณ์หรือวัตถุดิบ

8.2 ขั้นตอนการลงมือ

8.3 ขั้นตอนนำสินค้าไปขาย

9. แผนการดำเนินโครงงาน

ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน ระยะเวลาดำเนินการ

พ.ศ มิ.ย ก.ค ส.ค

การหาอุปกรณ์ <-->

ขั้นตอนการลงมือทำ <-->

ขั้นตอนนำสินค้าไปขาย <-->

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ได้รู้จักการทำแผ่นยางพารา

10.2 เพื่อได้รายได้เสริม

11. งบประมาณ

11.1 การชื่อวัตถุดิบ 5,000

ร่วมงบประมาณทั้งสิน 5,000

12. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

การขายปลีก คือ การขายสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้าที่มาขายแผ่นยางพารา

13. สถาบันหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

ห้องปฎิบัติการโรงเรียนนาสวรรค์พิทยาคม

เอกสารอ้างอิง

http://www.youtube.com/watch?v=c0R61mZg_N4&noredirect=1